วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

วลี

วลี หรือ กลุ่มคำ เป็นการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงต่อกันทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้น มีความหมายมาจากคำเดิมที่นำมารวมมารวมกันแต่ไม่สมบูรณ์เหมือนประโยค วลีส่วนใหญ่มีคำกลางที่สำคัญหนึ่งคำที่เป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของวลี คำนั้นเรียกว่าเป็น "คำหลัก" ของวลี ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของวลีตามคำหลักของวลีได้ดังนี้คือ
  • นามวลี (NP) เป็นวลีที่มีคำนามเป็นคำหลักของวลี เช่น แมวบนเสื่อ, บ้านริมน้ำ
  • กริยาวลี (VP) เป็นวลีที่มีคำกริยาเป็นคำหลักของวลี เช่น กินข้าว, กระโดดขึ้นลง
  • บุพบทวลี (PP) เป็นวลีที่มีคำบุพบทเป็นคำหลักของวลี เช่น ที่สุดถนน, หน้าร้านอาหาร
นอกจากนี้ยังมี สรรพนามวลี วิเศษณวลี กริยาวิเศษณวลี สันธานวลี อุทานวลี ฯลฯ ขึ้นอยู่กับประเภทของคำกลาง อย่างไรก็ตาม ในบางภาษาถึงแม้จะไม่มีคำหลักของวลี แต่ก็สามารถเป็นวลีประเภทอื่นได้ เช่นในภาษาอังกฤษ the rich (คนร่ำรวย) เป็นนามวลีที่มีแต่คำวิเศษณ์ ไม่มีคำนามอยู่เลย

วิชาภาษาไทย 2

ภาษาไทย ถิ่นใต้
ภาษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (อังกฤษDambro) เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัดและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน รัฐปะลิส รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) รัฐเประ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย บางหมู่บ้านในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉพาะ

สำเนียงย่อย

ภาษาไทยถิ่นใต้แยกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ถือเป็นกลุ่มย่อยในภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก), ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก และภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ (เจ๊ะเห)

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุงสงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง ) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ ภาษาไทยถิ่นใต้ในเขตอำเภอขนอม นครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขานครศรีธรรมราช(เขาหลวง) และในกลุ่มอำเภอฉวาง พิปูน ถ้ำพรรณรา และทุ่งสง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขานครศรีธรรมราช(เขาหลวง) ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้
การแบ่งเขตระหว่างพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (คำที่มีเสียงสระยาวสามารถออกเสียง ก. สะกดได้ชัด) กับพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก (คำที่มีเสียงสระยาว ออกเสียง ก. สะกดไม่ได้) สามารถกำหนดแนวแบ่งเขตคร่าว ๆ ได้โดยลากเส้นแนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอขนอม และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ลากขึ้นเขาหลวง แล้ววกลงไปทางใต้ โดยใช้แนวเขาหลวง เป็นแนวแบ่งเขต ผ่านลงไปถึงจุดระหว่างอำเภอทุ่งสง และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นวกไปทางทิศตะวันตกไปยังอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จรดทะเลอันดามัน

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ถือเป็นกลุ่มย่อย ในกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก มีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆเบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้างอย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น นอกจากนี้ยังคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้คือ คำว่า เบอะ หรือ กะเบอะซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า เพราะว่า, ก็เพราะว่า เรียกเงินว่า เบี้ย ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่ง คือ ไม่หอน ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ฉานไม่หอนไปเป็นต้น[1]

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ หรือ ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหนึ่งภาษาคือภาษาถิ่นพิเทน ซึ่งพูดกันในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีเท่านั้น
ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัดพัทลุงสงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน เป็นภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบที่ใช้อยู่ในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันคนในตำบลพิเทนพูดภาษาไทยถิ่นพิเทนน้อยลง ส่วนมากจะใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน ตามความนิยมของผู้ใช้ภาษาส่วนใหญ่ ผู้ที่สามารถใช้สำเนียงพิเทนได้ดีคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อายุน้อยกว่านี้บางคนไม่ยอมพูดภาษาของตน หรือพูดได้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยภาษาพิเทนมีการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันกับภาษามลายูปัตตานีถึงร้อยละ 97[2]

[แก้]ภาษาทองแดง

ภาษาทองแดง เดิมเป็นอีกชื่อของภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นชื่อที่แปลมาจากชื่อเดิมคือ "ภาษาตามโพร" สันนิษฐานว่าการตั้งชื่อนี้มาจากชื่อของอาณาจักรตามพรลิงก์ (ตาม-พระ-ลิง)[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งคำว่า ตามพร(ะ)- แปลว่าทองแดง (สันสกฤตTāmbra ตามพรบาลีTāmba ตามพ) แต่ในปัจจุบัน คำว่าภาษาทองแดง จะหมายถึง ผู้ที่มีภาษาแม่เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ เมื่อพูดภาษาไทยมาตรฐานแล้วสำเนียงจะไม่ชัด กล่าวคือ มีสำเนียงของภาษาไทยถิ่นใต้ หรือใช้คำศัพท์ที่มีอยู่เฉพาะในภาษาไทยถิ่นใต้ มาปะปนอยู่กับภาษาไทยมาตรฐาน คนไทยถิ่นใต้จะเรียกอาการนี้ว่า แหลงทองแดง (ทองแดงหล่น) ตัวอย่างเช่น การออกเสียงอักษร ฮ. แทนเสียง ง. , การออกเสียง ควฺ , ขวฺ แทนเสียง ฟ., ฝ. (การจับผิดว่า คนไทยถิ่นใต้คนหนึ่งคนใด"แหลงทองแดง" หรือพูดภาษาไทยมาตรฐานไม่ถูกต้องนั้น คนไทยถิ่นใต้ถือว่า เป็นการดูถูก แต่จะอนุญาตให้จับผิดได้ เฉพาะในกลุ่มคนไทยถิ่นใต้ด้วยกัน หรือเป็นคนที่สนิทสนมกัน เท่านั้น)

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาภาษาไทย



ประโยค


ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีใจความสมบูรณ์ ประกอบด้วย ภาคประธานและภาคแสดง

ใครทำอะไร
ที่ไหน
อย่างไร

ประโยคแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ 
๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
๒. ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค)
๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)

๑. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว
มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว เช่น

ประโยค
ภาคประธาน
ภาคแสดง
หมายเหตุ

ฝนตก
ฝน
ตก
ประโยคที่กริยา

ไม่ต้องมีกรรมมารับ

น้ำไหล
น้ำ
ไหล

ไฟดับ
ไฟ
ดับ

แดดออก
แดด
ออก

ลมพัด
ลม
พัด

ฟ้าร้อง
ฟ้า
ร้อง

ประโยค
ภาคประธาน
ภาคแสดง
หมายเหตุ

นักเรียนทำการบ้าน
นักเรียน
ทำการบ้าน
ทำ = กริยา
การบ้าน = กรรม

ฉันกินผลไม้
ฉัน
กินผลไม้
กิน = กริยา
ผลไม้ = กรรม

พี่ตีงู
พี่
ตีงู
ตี = กริยา
งู = กรรม

สุนัขกัดไกู่
สุนัข
กัดไก่
กัด = กริยา
ไกู่ = กรรม

หมายเหตุ - กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ

ประโยค
ภาคประธาน
ภาคแสดง
หมายเหตุ

คุณพ่อเป็นตำรวจ
คุณพ่อ
เป็นตำรวจ
เป็น = กริยา
ตำรวจ = ส่วนเติมเต็ม

หมายเหตุ - "เป็น" เป็นกริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์

ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว

๒. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค) คือประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ประโยค
ขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว
ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค
เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน

ฉันอ่านหนังสือแต่
น้องเล่นตุ๊กตา
ฉันอ่านหนังสือ
น้องเล่นตุ๊กตา
แต่

ประโยคความรวมแบ่งย่อยได้เป็น ๔ แบบ ดังนี้

๒.๑ ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง
พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๒.๑.๑ ประธานหนึ่งคนทำกริยา ๒ กริยาต่อเนื่องกัน เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน

พอฉันทำการบ้านเสร็จก็ไปดูโทรทัศน์ทันที
ฉันทำการบ้านเสร็จ
ฉันไปดูโทรทัศน์
พอ...ก็

๒.๑.๒ ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน

สุมาลีและจินดาเรียน
ยุวกาชาดเหมือนกัน
สุมาลีเรียนยุวกาชาด
จินดาเรียนยุวกาชาด
และ

๒.๒ ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน
ส่วใหญ่จะมีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน

ฉันรักเขามากแต่ทว่า
เขากลับไม่รักฉันเลย
ฉันรักเขามาก
เขากลับไม่รักฉันเลย
แต่ทว่า

๒.๓ ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี
กริยา ๒ กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน

แก้วหรือไม่ก็ก้อยไปช่วยแม่ยกของหน่อยจ้ะ
แก้วไปช่วยแม่ยกของ
ก้อยไปช่วยแม่ยกของ
หรือไม่ก็

๒.๔ ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ
เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค
หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ
เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน

เพราะเธอเป็นคนเห็น
แก่ตัวจึงไม่มีใครคบค้า
สมาคมด้วย
เธอเป็นคนเห็นแก่ตัว
(ประโยคเหตุ)
ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย
(ประโยคผล)
เพราะ...จึง

ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน
ประโยคผลเสมอ

ข้อสังเกต ประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค

๓. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก(มุขยประโยค)
และประโยคย่อย(อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี ประพันธสรรพนาม(ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน)
ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม

ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร

ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง

ประโยคความซ้อน
ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)
ประโยคย่อย
(อนุประโยค)
ตัวเชื่อม

ฉันรักเพื่อนที่มีนิสัย
เรียบร้อย
ฉันรักเพื่อน
ที่มีนิสัยเรียบร้อย
ที่
(แทนคำว่า"เพื่อน")

พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อ
ลูกจะมีอนาคตสดใส
พ่อแม่ทำงานหนัก
ลูกจะมีอนาคตสดใส
(ทำงานหนักเพื่ออะไร)
เพื่อ(ขยายวิเศษณ์
"หนัก")

เขาบอกให้
ฉันลุกขึ้นยืนทันที
เขาบอก
ฉันลุกขึ้นยืนทันที
(ขยายกริยา"บอก"
บอกว่าอย่างไร)
ให้

ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ
บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)

อนุประโยคแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ

๓.๑ นามานุประโยค หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น

ประโยคความซ้อน
ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)
ประโยคย่อย
(นามานุประโยค)
ตัวเชื่อม

นายกรัฐมนตรีพูดว่า
เยาวชนไทยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต
นายกรัฐมนตรีพูด
เยาวชนไทยต้องมี
ความซื่อสัตย์สุจริต
(เป็นกรรม)
ว่า

พี่สาวทำให้น้องชายเลิกเล่นเกมได้โดยเด็ดขาด
พี่สาวทำ้.....
น้องชายเลิกเล่นเกม
ได้โดยเด็ดขาด
(เป็นกรรม)
ให้

ภาพยนต์เรื่องนี้สอนว่า
ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส
ภาพยนต์เรื่องนี้สอน
ทุกคนควรช่วยเหลือ
สังคมเมื่อมีโอกาส
(เป็นกรรม)
ว่า

รัฐสภาจัดงานใหญ่เป็น
เกียรติแก่ผู้แทนราษฎร์
.....เป็นเกียรติแก่
ผู้แทนราษฎร
รัฐสภาจัดงานใหญ่
(เป็นประธาน)
ว่า

๓.๒ คุณานุประโยค หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนาม
หรือสรรพนามให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้
ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น



ประโยคความซ้อน
ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)
ประโยคย่อย
(คุณานุประโยค)
ตัวเชื่อม

บ้านสวยที่อยู่บนภูเขา
นั้นเป็นของนักร้องชื่อดัง
บ้านสวยเป็นของนักร้องชื่อดัง
ที่อยู่บนภูเขา
(บ้านอยู่บนภูเขา)
ที่

ครูทุกคนไม่ชอบนักเรียน
ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย
ครูทุกคนไม่ชอบ
นักเรียน
ที่แต่งตัวไม่สุภาพ
เรียบร้อย
(นักเรียนแต่งตัวไม่
สุภาพเรียบร้อย)
ที่

คนซึ่งไปรับรางวัลเป็น
น้องสาวของฉันเอง
คนเป็นน้องสาวของ
ฉันเอง
ซึ่งไปรับรางวัล
(คนไปรับรางวัล)



๓.๓ วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ
เช่น

ประโยคความซ้อน
ประโยคหลัก
(มุขยประโยค)
ประโยคย่อย
(วิเศษณานุประโยค)
ตัวเชื่อม

นักเรียนถูกลงโทษไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน
นักเรียนถูกลงโทษ
ไม่ให้ออกนอกบริเวณ
โรงเรียน
-

หล่อนไปทำงานตั้งแต่
ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง
หล่อนไปทำงาน
ตั้งแต่ฟ้าเพิ่งจะสาง ๆ
เท่านั้นเอง
ตั้งแต่

ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ





ข้อสังเกต ประโยคความซ้อน
- ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค